ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเขตคุณภาพการศึกษาสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

Organization : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Classification :.DDC: 371.201
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา เขตคุณภาพการศึกษาสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำนวน 3 ด้าน คือ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครู เขตคุณภาพการศึกษาสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้บริหาร จำนวน 49 คน ครู จำนวน 191 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเขตคุณภาพการศึกษาสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเขตคุณภาพการศึกษาสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเขตคุณภาพการศึกษาสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน

ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
Title Alternative
The Administrators’ Managerial Skill of the School Administrators Attached to Ubon Ratchathani offices of Educational Service Areas 3

Classification :.DDC: 371.201
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ตามความคิดเห็น ของข้าราชการครู จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร 41 คน ครูผู้สอน 290 คน รวม 331 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวม 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์แอลฟา (œ–coefficient) การทดสอบ ค่า t และการทดสอบ F และการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของ Scheffe' ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของข้าราชการครู ที่มีต่อทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบความคิดเห็นของข้าราชการครู ที่มีต่อทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.1 ข้าราชการครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่แตกต่างกัน 2.2 ข้าราชการครูที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่แตกต่างกัน 2.4 ข้าราชการครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were to study and compare the administrative skills of the school administrators in Ubon Ratchathani educational service area according to the opinions of the school administrators and the teachers in different positions and school sized. The study sample size was 311 teachers in Ubon Ratchathani educational service area. They were selected by opening Krejecie and Morgan schedule and the stratified random sampling. The equipment used to collect the data was a rating-scale questionnaire with 60 items. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t-test, F- test and scheffe’ method. The research findings were as follows : 1. The administrative skills of the school administrators according to the opinions of administrators and the teachers were found to be at a high level . 2. The comparisons of the administrative skills of the school administrators according to administrators and the teacher opinions yielded the results as follow : 2.1 The administrators and the teachers whose position were different did not have significantly different opinions. 2.2 The administrators and the teachers who were different in gender significantly in their opinions at the .05 level. 2.3 The administrators and the teachers whose experiences were different did not have significantly different opinions. 2.4 The administrative skills of the school administrators according to administrator and the teacher opinions in schools of different sizes were found significantly different at the .05 level.

ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Title Alternative
HIGH SCHOOL ADMINISTRATIVE SKILLS OF SECONDARY SCHOOL IN LUANG PRAB LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLI

Classification :.DDC: วพ371.2
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามทัศนะของบุคลากรทางการศึกษาแขวงหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษาตามทัศนะของบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน ใน 3 ด้าน คือ ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 278 คน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

คู่มือการใช้งานระบบ SGS